“บุคคลแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน ความสามารถที่ผสมผสานกันทำให้ทำให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตน และเชาว์ปัญญาสามารถเปลี่ยนแปลงได้” โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ที่โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา เราให้ความสำคัญกับการศึกษาและการพัฒนาทักษะของนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง แนวทางหลักที่เราใช้คือทฤษฎีความฉลาดพหุปัญญา (Multiple Intelligences Theory) ที่ถูกคิดค้นขึ้นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันในปี ค.ศ. 1983 โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ที่เสนอว่าความฉลาดของมนุษย์มีหลากหลายด้าน ไม่จำกัดเพียงแค่ความสามารถทางคณิตศาสตร์และภาษาศาสตร์เท่านั้น ทฤษฎีพหุปัญญาและการประยุกต์ใช้ในโรงเรียนของเรา ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ได้แบ่งความฉลาดออกเป็น 9 ด้านหลัก ๆ ดังนี้คือ ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ ปัญญาด้านภาษา ปัญญาด้านดนตรี ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา ด้านการคิดใคร่ครวญ
ในโพสนี้ จะพูดถึงปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) ที่มีความสำคัญอย่างมากในพื้นฐานการสร้างความสำเร็จในการใช้ชีวิตทั้งปัจจุบันและในอนาคต เป็นพื้นฐานสำคัญสู่การพัฒนา Human Skills หรือ ทักษะมนุษย์ กุญแจสำคัญสู่การทำงานได้ประสบความสำเร็จและอยู่รอดในยุค AI โดยปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง คือความสามารถในการรับรู้และเข้าใจความรู้สึก ความคิด และเป้าหมายของตนเอง ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้มักมีการสะท้อนตนเองสูง เข้าใจในความรู้สึกและแรงจูงใจของตนเอง และสามารถวางแผนการพัฒนาตนเองได้ดี มีความสามารถในการตั้งเป้าหมายและทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา เราได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาปัญญาด้านความเข้าใจตนเองของนักเรียน เช่น การสะท้อนตนเองผ่านการเขียนบันทึกประจำวัน การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและการวางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมาย การให้คำปรึกษาโดยครูหรือผู้เชี่ยวชาญ และการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น การทำโครงการ การเข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตร และการทำงานอาสาสมัคร การแสดงละครเวทีเน้นพัฒนาทักษะด้านนี้โดยเฉพาะให้นักเรียนได้เข้าถึงบทบาทและสะท้อนตนเองจากประสบการณ์ที่ได้รับ
ตัวอย่าง การพัฒนาปัญญาด้านความเข้าใจตนเองในผู้เรียน สามารถทำได้ผ่านกิจกรรมและวิธีการต่าง ๆ ที่คุณครูในโรงเรียนใช้เป็นเครื่องมือ คือ
1. การสะท้อนตนเอง : ให้ผู้เรียนมีโอกาสสะท้อนตนเองผ่านการเขียนบันทึกประจำวัน หรือการพูดคุยกับครูและเพื่อน ๆ เพื่อสำรวจความรู้สึกและความคิดของตนเอง
2. การตั้งเป้าหมาย : สอนผู้เรียนในการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและวางแผนในการบรรลุเป้าหมายนั้น โดยให้ความสำคัญกับการติดตามผลและปรับปรุงแผนตามความจำเป็น
3. การให้คำปรึกษา : จัดหาที่ปรึกษาหรือครูที่สามารถให้คำแนะนำและสนับสนุนผู้เรียนในการเข้าใจตนเองและการพัฒนาตนเอง
4. การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ : ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่ท้าทาย เช่น การทำโครงการต่าง ๆ การเข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตร หรือการทำงานอาสาสมัคร ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเองมากขึ้น