ระดับชั้นประถมศึกษา

Contact Us: admin@ektra.ac.th

ระดับชั้น : ระดับชั้นอนุบาล | ระดับชั้นประถมศึกษา | ระดับชั้นมัธยมศึกษา

   หลักสูตร

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ภาคภาษาไทย
  • ภาษาไทย   |   คณิตศาสตร์   |   วิทยาศาสตร์   |   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  |     |   ประวัติศาสตร์   |   สุขศึกษาและพละศึกษา   |   ศิลปะ   |   การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ภาคภาษาอังกฤษ
  • English   |   Phonics   |   Mathematics   |   Science   |   Social Studies   |   Physical Education (P.E.)   |   Music
     
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • กิจกรรม M.I. (Multiple Intelligences)
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3
ภาคภาษาไทย
  • ภาษาไทย   |   คณิตศาสตร์   |   วิทยาศาสตร์   |   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม   |   ประวัติศาสตร์   |   สุขศึกษาและพละศึกษา   |   ศิลปะ และ ดนตรี   |   การงานอาชีพและเทคโนโลยี   |   ภาษาอังกฤษ
ภาคภาษาอังกฤษ
  • English   |   Phonics   |   Mathematics   |   Science   |   Social Studies   |   Physical Education (P.E.)   |   Music   |   Chinese
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • กิจกรรม M.I. (Multiple Intelligences)   |   กิจกรรมลูกเสือ
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
ภาคภาษาไทย
  • ภาษาไทย   |   คณิตศาสตร์   |   วิทยาศาสตร์   |   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม   |   ประวัติศาสตร์   |   สุขศึกษาและพละศึกษา   |   ศิลปะ และ ดนตรี   |   การงานอาชีพและเทคโนโลยี   |   ภาษาอังกฤษ
ภาคภาษาอังกฤษ
  • English   |   Phonics   |   Mathematics   |   Science   |   Social Studies   |   Physical Education (P.E.)   |   Music   |   Chinese or Japanese
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • กิจกรรม M.I. (Multiple Intelligences)   |   กิจกรรมลูกเสือ

   หมายเหตุ : อัตราส่วนการสอน (Extra Class) ภาคภาษาอังกฤษ : ภาษาไทย (70:30)

        สาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม อันได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา ดนตรีและศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐานสำคัญที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
        สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ กำหนดให้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง เพื่อใช้เป็น เครื่องมือติดต่อสื่อสาร และค้นคว้าความรู้จากแหล่งการเรียนที่หลากหลายในยุคข้อมูลสารสนเทศ นอกจากนั้น ยังจัดให้มีการเรียนรู้ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม เป็นภาษาที่สามตามความสนใจ และความถนัดอีกด้วย
        ส่วนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นอย่างหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน จัดเป็นกิจกรรมเพิ่มเติมจากการเรียนตามสาระ การเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับธรรมชาติการเรียนรู้ และระดับพัฒนาการของผู้เรียน ได้แก่ กิจกรรมลูกเสือและกิจกรรม M.I. (Multiple Intelligences)

   การจัดการเรียนรู้

โครงการ EXTRA CLASS: THE SECOND GENERATION  

        จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนในระดับ ประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้รับการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษให้มีคุณภาพสูงขึ้น และ เตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนไทยสำหรับการก้าวเข้าสู่การเป็นพลเมืองโลก

แผนการจัดการเรียนการสอน
จัดการเรียนการสอนในลักษณะ 2 ภาษา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) โดยในระดับประถมศึกษา (Year 2-6) เพิ่มคาบเรียนในภาคภาษาอังกฤษมากขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพความสามารถในการใช้ภาษา อังกฤษ เพื่อการเรียนรู้และการสื่อสารของนักเรียนให้สูงขึ้น โดยปรับสัดส่วนร้อยละการเรียน ภาคภาษาอังกฤษและภาคภาษาไทยของนักเรียนโครงการ Extra Class ดังตารางข้างล่างนี้

หมายเหตุ :
1. สัดส่วนตารางเป็นอัตราส่วนการเรียนภาคภาษาอังกฤษ: ภาคภาษาไทย เมื่อเทียบ 100% (อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
2. รายวิชาที่เรียนในภาคภาษาอังกฤษโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในการสื่อสารและสอนโดย ครูต่างชาติ คือ English, Phonics, Mathematics, Science, Social Studies และ P.E. (Physical Education)

การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้วยดนตรี  

        โรงเรียนได้ส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีให้กับนักเรียน โดยเห็นถึงความสำคัญและ ประโยชน์ของดนตรีว่ามีส่วนช่วยพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงได้ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนในวิชาดนตรีอย่างต่อเนื่องเสมอมา ขอบข่ายเนื้อหาการเรียนการสอนวิชาดนตรี ในระดับประถมศึกษา
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3     นักเรียนจะได้เรียนรู้ทฤษฎีดนตรี การอ่าน เขียน ออกเสียงโน้ต รวมถึงทักษะการร้องเพลง และ การปฏิบัติเครื่องมือดนตรีประเภทคีย์บอร์ด โดยคุณครูต่างชาติ
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6     ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กำหนดให้นักเรียนเลือกเรียนดนตรีไทยหรือดนตรีสากลตามความสนใจ เป็นเครื่องมือเอก 1 ชนิด โดยจะได้รับการพัฒนาฝีมือและประสบการณ์ในการเรียนเครื่องดนตรีชนิดนั้นๆ ตามหลักสูตรดนตรีของโรงเรียนจนจบการศึกษาขั้นสูงสุด เพื่อให้เกิดความชำนาญอย่างแท้จริง นักเรียน จึงไม่ควรเปลี่ยนเครื่องมือเนื่องจากจะไม่ได้รับการพัฒนาฝีมือเท่าที่ควร
        หากนักเรียนต้องการเรียนเครื่องมืออื่นๆ อาจเลือกเรียนเสริมพิเศษนอกเวลาในช่วงเย็นที่โรงเรียน เปิดสอนได้

เกณฑ์การคัดเลือกนักเรียนในการเลือกเรียนเครื่องดนตรี
        1. สำรวจพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และความชอบของผู้เรียนเพื่อบ่งชี้ความพร้อมในทุกด้าน
        2. รวบรวมข้อบ่งชี้ความพร้อมโดยทดสอบจัดลำดับความสามารถและความถนัดเพื่อแยกลง เครื่องที่เหมาะสม
        3. พัฒนาความพร้อมไปสู่ความเป็นเลิศในด้านนั้นๆ

วิชาเฉพาะเครื่องมือเอกที่เปิดสอนมี 2 สาขา ได้แก่

1. ดนตรีไทย แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 2 กลุ่มเครื่องมือ ได้แก่ กลุ่มเครื่องสาย และ กลุ่มปี่พาทย์ เครื่องดนตรีที่เปิดสอนมีดังต่อไปนี้
         กลุ่มเครื่องสาย เปิดสอนเครื่องมือ ซอด้วง ซออู้ ขิม จะเข้
         กลุ่มปี่พาทย์ เปิดสอนเครื่องมือ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก เครื่องหนัง และขลุ่ย
2. ดนตรีสากล แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 6 กลุ่มเครื่องมือ โดยการจัดการเรียน การสอนให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะตามลำดับขั้น Level 1 – 6 เครื่องดนตรีที่เปิดสอนมีดังต่อไปนี้
         กลุ่ม Woodwind: Flute, Clarinet, Alto Saxophone, Tenor Saxophone
         กลุ่ม Brass: Euphonium, Horn, Trumpet, Trombone & Tuba
         กลุ่ม Strings: Violin, Viola, Cello & Double Bass
         กลุ่ม Guitar: Classical Guitar
         กลุ่ม Keyboard: Piano
         กลุ่ม Percussion

   ทฤษฎีพหุปัญญา

การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้วย MI (Multiple Intelligences)  

        กิจกรรม MI เป็นกิจกรรมที่นำแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ของศาสตราจารย์ โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) มาประยุกต์ใช้บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีความสามารถทางปัญญาที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 8 ด้าน ดังนี้
            1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligences)
            2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligences)
            3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligences)
            4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligences)
            5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligences)
            6. ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligences)
            7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligences)
            8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligences)


        ทางโรงเรียนจึงจัดให้มีการเรียนการสอนและกิจกรรม MI (Multiple Intelligences) ให้กับนักเรียน ทุกคนโดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละระดับชั้น โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือค้นหาความสามารถทาง ปัญญาที่เป็นจุดเด่นของนักเรียนแต่ละคน แล้วส่งเสริมพัฒนาความสามารถทางปัญญานั้นให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences)

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
        การจัดกิจกรรมมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ใช้ทักษะการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับปัญญาด้านต่างๆ ควบคู่กับการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดให้กับนักเรียน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในระดับที่สูงขึ้น จะยังคงไม่เน้นการส่งเสริมปัญญาด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
        นักเรียนจะเข้าฐานกิจกรรมที่สอดคล้องกับปัญญาด้านต่างๆ ในรูปแบบ การเวียนฐานซึ่งนักเรียนจะได้เข้ากิจกรรมทุกฐาน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สำรวจและค้นพบความสามารถ และความถนัดของตนเองจากประสบการณ์ในการเวียนฐาน นอกจากนี้คุณครูประจำฐานกิจกรรมก็จะเป็น ผู้สังเกตและประเมินผลจากความสนใจ ความสามารถ และความถนัดของนักเรียน เพื่อเป็นข้อมูลในการค้นหา ความสามารถและความถนัดของนักเรียนแต่ละคนต่อไป

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6
        การจัดกิจกรรมจะยังคงแบ่งเป็นกลุ่มกิจกรรมที่สอดคล้องกับ ปัญญาด้านต่างๆ แต่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกเข้ากลุ่มกิจกรรมตามความสนใจและความถนัดในแต่ละ ระดับชั้น เพื่อให้นักเรียนสามารถค้นพบความถนัดของตนเอง ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น โดยนักเรียนจะได้ลงมือปฏิบัติ และนำความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ รวมทั้งทักษะกระบวนการคิดมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานตามความ สามารถและศักยภาพของนักเรียน

        กิจกรรม M.I. จึงไม่เป็นเพียงกิจกรรมเสริม แต่เป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยให้นักเรียนรู้จัก และ เห็นคุณค่าของตนเอง เกิดความภาคภูมิใจและมีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ตนชอบและถนัด จนสามารถต่อยอด ความชอบและความถนัดนั้น ให้เกิดเป็นความเชี่ยวชาญ จนสามารถสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของตนเอง ต่อไปในอนาคตได้อย่างแท้จริง