ระดับชั้นมัธยมศึกษา

Contact Us: admin@ektra.ac.th

ระดับชั้น : ระดับชั้นอนุบาล | ระดับชั้นประถมศึกษา | ระดับชั้นมัธยมศึกษา

   หลักสูตร

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Year 7–9)

ภาคภาษาไทย
  • ภาษาไทย   |  คณิตศาสตร์พื้นฐาน   |  คณิตศาสตร์เพิ่มเติม   |  วิทยาศาสตร์   |  สังคมศึกษาฯ-ประวัติศาสตร์   |  สังคมศึกษาฯ-หน้าที่พลเมือง   |  พลศึกษา   |  ดนตรี-ทัศนศิลป์   |  คอมพิวเตอร์
     
ภาคภาษาอังกฤษ
  • English: Reading and Writing   |  English: Listening and Speaking   |  English Activities   |  English Grammar   |  Mathematics   |  Science   |  Social Studies   |  Health Education   |  Home Economics   |  Physical Education   |  Chinese / Japanese
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี (Scouts / Girl guides)   |   Multiple Intelligences Activities   |   กิจกรรมแนะแนว   |   กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
     
     

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (Year 10–12)

แผนการเรียน GAC (Science-Maths)
รายวิชาภาคภาษาไทย
  • ภาษาไทย   |  คณิตศาสตร์พื้นฐาน   |  คณิตศาสตร์เพิ่มเติม   |  ฟิสิกส์   |  เคมี   |  ชีววิทยา   |  โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ   |  วิทยาการคำนวณ   |  ประวัติศาสตร์   |  ศาสนา   |  หน้าที่พลเมือง   |  ภูมิศาสตร์   |  เศรษฐศาสตร์   |  สุขศึกษาและพลศึกษา   |  ดนตรี-ทัศนศิลป์   |  การงานอาชีพ
     
รายวิชาภาคภาษาอังกฤษ
  • English Grammar
     
รายวิชา GAC
  • Academic English : Listening & Speaking   |  Academic English : Reading & Writing   |  Mathematics   |  Science   |  Social Studies   |  Communication Skills   |  Computing for Academic Study   |  Study Skills for Independent Learning   |  Identity and interaction in Society   |  Data Management   |  Digital Communication
     
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • กิจกรรม M.I. / ชมรม   |  กิจกรรมแนะแนว/รักษาดินแดน   |  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
     
     
แผนการเรียน GAC (Language)
รายวิชาภาคภาษาไทย
  • ภาษาไทย   |  คณิตศาสตร์พื้นฐาน   |  วิทยาศาสตร์ชีวภาพ   |  วิทยาศาสตร์กายภาพ   |  โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ   |  วิทยาการคำนวณ   |  ประวัติศาสตร์   |  ศาสนา   |  หน้าที่พลเมือง   |  ภูมิศาสตร์   |  เศรษฐศาสตร์   |  สุขศึกษาและพลศึกษา   |  ดนตรี-ทัศนศิลป์   |  การงานอาชีพ
รายวิชาภาคภาษาอังกฤษ
  • English Grammar   |  English Translation
รายวิชา GAC
  • Academic English : Listening & Speaking   |  Academic English : Reading & Writing   |  Mathematics   |  Science   |  Social Studies   |  Communication Skills   |  Computing for Academic Study   |  Study Skills for Independent Learning   |  Identity and interaction in Society   |  Data Management   |  Digital Communication
รายวิชาเลือก
  • คณิตศาสตร์เพิ่มเติม   |  เศรษฐศาสตร์และการวางแผนธุรกิจเบื้องต้น   |  Art & Design   |  ดนตรี   |  ภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ/จีน/ญี่ปุ่น)
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • กิจกรรม M.I. / ชมรม   |  กิจกรรมแนะแนว/รักษาดินแดน   |  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
แผนการเรียน Bilingual (Science - Maths)
รายวิชาภาคภาษาไทย
  • ภาษาไทย   |  คณิตศาสตร์พื้นฐาน   |  คณิตศาสตร์เพิ่มเติม   |  ฟิสิกส์   |  เคมี   |  ชีววิทยา   |  โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ   |  วิทยาการคำนวณ   |  ประวัติศาสตร์   |  ศาสนา   |  ภูมิศาสตร์   |  เศรษฐศาสตร์   |  หน้าที่พลเมือง   |  สุขศึกษาและพลศึกษา   |  ดนตรี-ทัศนศิลป์   |  การงานอาชีพ
     
รายวิชาภาคภาษาอังกฤษ
  • English Enrichment   |  English Grammar   |  Mathematics   |  Science   |  Social Studies   |  Chinese / Japanese
     
     
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • กิจกรรม M.I. / ชมรม   |  กิจกรรมแนะแนว/รักษาดินแดน   |  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
     
     
แผนการเรียน Extra Class
รายวิชาภาคภาษาไทย
  • ภาษาไทย   |  คณิตศาสตร์พื้นฐาน   |  วิทยาศาสตร์ชีวภาพ   |  วิทยาศาสตร์กายภาพ   |  โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ   |  วิทยาการคำนวณ   |  ประวัติศาสตร์   |  ศาสนา   |  ภูมิศาสตร์   |  เศรษฐศาสตร์   |  หน้าที่พลเมือง   |  สุขศึกษาและพลศึกษา   |  ดนตรี-ทัศนศิลป์   |  การงานอาชีพ
รายวิชาภาคภาษาอังกฤษ
  • English Enrichment   |  Extra English   |  English Grammar   |  English Translation   |  Mathematics   |  Science   |  Social Studies   |  Chinese / Japanese
รายวิชาเลือก
  • คณิตศาสตร์เพิ่มเติม   |  เศรษฐศาสตร์และการวางแผนธุรกิจเบื้องต้น   |  Art & Design   |  ดนตรี   |  ภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ/จีน/ญี่ปุ่น)
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  • กิจกรรม M.I. / ชมรม   |  กิจกรรมแนะแนว/รักษาดินแดน   |  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

   การจัดการเรียนรู้

        โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา จัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา โดยใช้หลักสูตรการศึกษาที่โรงเรียนพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมาในแนวทางการจัดการเรียนรู้ 2 ภาษา (Bilingualism) ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กระทรวงศึกษาธิการ และสอดคล้องกับสภาพความเป็นไปและความต้องการของสังคมในยุคปัจจุบัน การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นให้ มีความเข้มข้น หลากหลาย มีคุณภาพสูง เทียบเคียงได้กับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

        โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา แผนกมัธยม จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พัฒนานักเรียนให้เต็มตามศักยภาพ เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และการทำกิจกรรม เพื่อฝึกทักษะการเรียนรู้ ทักษะการปฏิบัติงาน ทักษะกระบวนการคิด ได้ลงมือฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง จนค้นพบความสามารถ ความถนัด และวิธีการของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎีพหุปัญญา หรือ Multiple Intelligences ของ Dr. Howard Gardner ศาสตราจารย์ทางการศึกษาและจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดผู้พัฒนาแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพความถนัดของผู้เรียนตรงตามความถนัดของแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิชาการด้านต่างๆ ได้ฝึกทักษะความสามารถที่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จในชีวิตในอนาคต

        นอกจากนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนเข้าสู่การดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 และเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนจึงได้จัดให้มีการสอดแทรกการพัฒนาทักษะสำคัญที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทักษะสำคัญที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่นักเรียนควรได้รับการพัฒนา ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการแก้ปัญหา การทำงานร่วมกัน การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี เป็นต้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Year 7–9)  

        จัดการเรียนการสอนในแนวทาง 2 ภาษา (Bilingual Thai-English) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษระดับสูงให้กับนักเรียนที่มีพื้นฐานความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดี โดยมีเป้าหมายการพัฒนานักเรียนให้มีความเชื่อมั่นในการใช้ภาษาอังกฤษสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาเรียนรู้และสื่อสารในระดับสากลได้อย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนมีความรอบรู้เชิงวิชาการ มีทักษะสำคัญที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามความถนัดและความสนใจ กำหนดสัดส่วนเวลาการเรียนในภาคภาษาไทยกับภาคภาษาอังกฤษเป็น 30 : 70

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (Year 10–12)  

        จัดแผนการเรียนให้นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้ เลือกเรียนตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ ดังนี้

1. แผนการเรียน GAC (Global Assessment Certificate)
       เป็นแผนการเรียนที่นักเรียนจะได้เรียนหลักสูตร GAC (Global Assessment Certificate) ในภาคภาษาอังกฤษ และเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคภาษาไทย โดยหลักสูตร GAC เป็นหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาจาก ACT EducationSolutions, Limited ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา และสำนักงานสาขาในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก

2. แผนการเรียน Extra Class
       เป็นแผนการเรียนที่โรงเรียนสารสาสน์เอกตราได้พัฒนาต่อยอดมาจากการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง 2 ภาษา (Bilingualism) เพื่อจัดการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษอย่างเข้มข้น ให้สอดคล้องกับความสามารถของนักเรียนที่มีความถนัด สามารถในการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดี

3. แผนการเรียน BILINGUAL (Science-Math)
       เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างเข้มข้น พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พัฒนาทักษะสำคัญที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนเพื่อการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ต้องใช้วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เป็นพื้นฐานสำคัญ

   ทฤษฎีพหุปัญญา

การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนด้วย MI (Multiple Intelligences)  

        กิจกรรม MI เป็นกิจกรรมที่นำแนวคิดของทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ของศาสตราจารย์ โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) มาประยุกต์ใช้บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีความสามารถทางปัญญาที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 8 ด้าน ดังนี้
            1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligences)
            2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligences)
            3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligences)
            4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligences)
            5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligences)
            6. ปัญญาด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Interpersonal Intelligences)
            7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligences)
            8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligences)


        ทางโรงเรียนจึงจัดให้มีการเรียนการสอนและกิจกรรม MI (Multiple Intelligences) ให้กับนักเรียน ทุกคนโดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละระดับชั้น โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือค้นหาความสามารถทาง ปัญญาที่เป็นจุดเด่นของนักเรียนแต่ละคน แล้วส่งเสริมพัฒนาความสามารถทางปัญญานั้นให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามหลักทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences)

        หลังจากนักเรียนได้ผ่านกระบวนการค้นหาความถนัดในระดับประถมแล้ว เมื่อนักเรียนเข้าสู่ระดับมัธยม นักเรียนจะได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถและความถนัดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อนักเรียนเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และจะต้องเลือกแผนการเรียนเพื่อศึกษาต่อ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 – ม.6) นักเรียนจะมีความมั่นใจในความสามารถ และความถนัดของ ตนเองมากพอที่จะตัดสินใจเลือกแผนการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและการเลือกคณะในระดับ มหาวิทยาลัยต่อไป