โครงงานภาษาไทย “นิทานพื้นบ้านประจำภาคต่าง ๆ”

         เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ และจากการเรียนวิชาภาษาไทยในระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 หนังสือวรรณคดีวิจักษ์ หน่วยการเรียนที่ 7 เรื่องนิทานพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย แผนกมัธยม จึงให้นักเรียนจัดทำโครงงานภาษาไทย ในหัวข้อเรื่อง “นิทานพื้นบ้านประจำภาคต่าง ๆ” ขึ้น โดยที่คุณครูจะให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ เช่น อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ฯลฯ เพิ่มเติมจากบทเรียน และเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงผลงานโครงงานในห้องเรียน เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2558 เวลา 08.30–10.00 น. ที่ผ่านมา ให้กับน้องๆในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และนำมาร่วมจัดนิทรรศการในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันที่ 29 กรกฎาคม 2558 ซึ่งการจัดโครงงานครั้งนี้นอกจากนักเรียนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน แหล่งการหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว ยังได้ฝึกในเรื่องการเป็นผู้ให้ที่ได้แบ่งปันความรู้ให้กับน้องๆ และพี่ๆ อีกด้วย
          โครงงาน “นิทานพื้นบ้านประจำภาคต่าง ๆ” ที่นักเรียนจัดทำขึ้น มีรายละเอียดแบ่งตามระดับชั้นดังนี้
          ม. 1/1 นิทานพื้นบ้านภาคใต้ เรื่อง “เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว”
               - ตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
               - เรื่องเล่าและปาฎิหาริย์ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จังหวัดปัตตานี
               - ความหมายของคำยาก คำว่า “สัญญา และ สัจจะ”
               - ข้อคิดที่ได้จากเรื่องเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
          ม.1/2 นิทานพื้นบ้านภาคตะวันออก เรื่อง “ตาม่องล่ายกับยายรำพึง”
               - เรื่องเล่ามุขปาฐะเรื่อง ตาม่องล่ายกับยายรำพึง
               - สถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นจากเรื่องเล่ามุขปาฐะเรื่องตาม่องล่ายกับยายรำพึง
               - ความหมายของคำว่า “ขันหมาก” คืออะไร ขบวนขันหมากประกอบไปด้วยสิ่งใดบ้าง ให้ความหมายว่า อย่างไร
          ม.1/3 นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่อง “เมืองลับแล”
               - ตำนานของเมืองลับแล ในจังหวัดอุตรดิตถ์
               - ความหมายของสำนวนที่มีคำว่า “ขมิ้น”
               - ประเภทของอาหารที่ใช้ขมิ้นเป็นส่วนประกอบ
          ม. 1/4 นิทานพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่อง “พญาคันคาก”
               - ตำนานพญาคันคาก
               - ที่มาของประเพณีขอฝนอันได้แก่ ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีแห่นางแมว เป็นต้น
               - ความหมายของสำนวนที่มีคำว่า “คางคก”
          ม.1/5 นิทานพื้นบ้านภาคกลาง เรื่อง “ไกรทอง”
               - ตำนานไกรทอง
               - แยกประเภทจระเข้ จระเข้น้ำเค็มและจระเข้น้ำจืด
               - ความหมายของสำนวนที่มีคำว่า “จระเข้”

.